ลักษณะมหาบุรุษ (2)
สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีตได้
ชัยชนะครั้งที่ 6 (ตอนที่ 5 ชนะสัจจกนิครนถ์)
บุคคลเอก เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นแบบไม่เป็นที่สองรองใคร ไม่มีใครเช่นกับพระองค์ ไม่มีใครเปรียบ ไม่มีส่วนเปรียบ ไม่มีใครเสมอด้วยพระพุทธเจ้า ผู้เป็นเลิศกว่าชนทั้งหลาย บุคคลเอกผู้นั้น คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ชัยชนะครั้งที่ 7 (ตอนที่ 1 ชนะนันโทปนันทนาคราช)
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจอมมุนี ทรงโปรดให้พระโมคคัลลานเถระพุทธชิโนรส ไปปราบนันโทปนันทนาคราช ผู้มีความรู้ผิด มีฤทธิ์มาก ด้วยวิธีให้แสดงฤทธิ์ ทรมานให้สิ้นฤทธิ์ ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น ขอชัยมงคลทั้งหลาย จงเกิดมีแก่ท่าน
ศาสดาเอกของโลก (1)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เลิศเมื่ออุบัติขึ้นในโลก ย่อมอุบัติขึ้นเพื่อประโยชน์แก่มหาชนเป็นอันมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่ชาวโลก เพื่อประโยชน์สุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย...
ศาสดาเอกของโลก (6)
ชนเหล่าใด ถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุด ชนเหล่านั้น ละโลกนี้ไปแล้ว จักไม่ไปสู่อบายภูมิ เมื่อละกายมนุษย์นี้แล้ว จักยังหมู่เทวดาให้บริบูรณ์...
ศาสดาเอกของโลก (4)
สติของชนเหล่าใดไปแล้วในพระพุทธเจ้าเป็นนิตย์ ทั้งกลางวันและกลางคืน ชนเหล่านั้นชื่อว่าเป็นสาวกของพระโคดม ตื่นอยู่ ตื่นดีแล้วในกาลทุกเมื่อ...
มงคลที่ 38 - จิตเกษม - ความสุขในพระรัตนตรัย
หลังจากที่ท่านปลงผมเสร็จ กำลังจะผลัดผ้าสาฎกออก เพื่อเปลี่ยนมานุ่งห่มชุดของนักบวช ในจังหวะนั้นท่านก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในทันที เมื่อบรรลุธรรมแล้ว ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องปฏิสัมภิทาญาณ ต่อมาพระบรมศาสดาทรงสถาปนาท่านไว้ในตำแหน่งภิกษุผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้มีความแตกฉานในปฏิสัมภิทาญาณสี่
มงคลที่ 38 - จิตเกษม - ผู้มีจิดเกษม
เครื่องผูกมัดเหล่านี้เปรียบเหมือนเชือกสี่เกลียว ที่ผูกมัดตัวเราไว้กับภพ ทำให้ต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารไม่รู้จบสิ้น สัตวโลกต้องพบกับภัยทั้งหลาย ดิ้นกันไม่หลุด จิตจึงไม่พบกับความเกษมสำราญ มีสุขมีทุกข์คลุกเคล้ากันไป สุกๆดิบๆ จะหาสุขจริงๆนั้น ยังหาไม่พบ มีแต่หลงเพลิดเพลินไปวันๆ สภาวะของจิตเกษมจึงไม่เคยพบเจอไม่เคยรู้จัก
มงคลที่ ๓๖ จิตไม่โศก - พิชิตความโศกด้วยสัจจธรรม
มหาชนที่ผ่านไปผ่านมา พบเห็นดาบสินีนอนสิ้นใจ ต่างก็พากันสงสารในชะตากรรม พากันร้องไห้คร่ำครวญอยู่ที่ศาลาหลังนั้น ส่วนพระโพธิสัตว์กลับจากภิกขาจาร มาเห็นมหาชนคร่ำครวญกันอยู่ เมื่อรู้ว่าดาบสินีคู่ทุกข์คู่ยากสิ้นใจแล้ว ก็ไม่ได้แสดงอาการอะไร ยังคงทำภัตกิจตามปกติ เพราะเป็นผู้ที่มีใจมั่นคง มองเห็นความตายเป็นเรื่องธรรมดาของสัตวโลก มหาชนเห็นอย่างนั้น จึงพากันถามด้วยความสงสัยว่า "ท่านดาบสเป็นอะไรกับนาง"
มงคลที่ ๓๖ จิตไม่โศก - ผู้มีปัญญาย่อมไม่โศก
วันหนึ่ง พระโพธิสัตว์กับพราหมณ์ผู้เป็นพ่อ ได้ออกไปไถนาตั้งแต่เช้าตรู่ พ่อก็ไถนาไป ส่วนท่านกำลังเผาหญ้าอยู่ งูเห่าตัวหนึ่งได้เลื้อยออกมาจากโพรงไม้ เพราะกลัวถูกไฟเผา ด้วยความโกรธจึงกัดท่านทันที เมื่อรู้ว่าถูกงูพิษกัด ท่านจึงเรียกพ่อให้มาช่วย พ่อได้วิ่งมาดู แต่ไม่รู้ว่าจะช่วยอย่างไร